ในญี่ปุ่นจะมีองค์การ Digital Broadcasting Expert Group (DiBEG) เป็นหน่วยงานส่งเสริมและโปรโมทระบบดิจิตอล โดยจะเผยแพร่ให้คำแนะนำความรู้ความเข้าใจของระบบดิจิตอลให้แก่ องค์กร, หน่วยงาน, สถาบัน, นักศึกษา และประชาชนได้รับทราบถึงทิศทางของระบบดิจิตอล และยังมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อเพื่อนำไปใช้งานให้เหมาะสม แม้กระทั่งทำสติกเกอร์ที่มีคำเตือนไปติดไว้บนเครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อให้ประชาชนที่ใช้งานหรือกำลังเลือกซื้อเครื่องรับโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่เป็นระบบอนาล็อก ว่าจะสิ้นสุดการใช้งานภายในปี 2011 เนื่องจากระบบสัญญาณจะถูกเปลี่ยนเป็นดิจิตอลแล้วเครื่องรับระบบอนาล็อกจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ช่วยให้ประชาชนทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาใช้ในระบบ Broadcasting ประเภทต่างๆ
การวางแผนงานเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิตอล
การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิตอล มีความหมายคือการหยุดใช้งานระบบอนาล็อก(หยุดส่งสัญญาณอนาล็อก) และเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิตอล(ส่งสัญญาณดิจิตอล) แต่ไม่กระทำการหยุดในทันทีทันใด โดยจะออกอากาศระบบดิจิตอลคู่ไปกับระบบอนาล็อกเดิม ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วประชาสัมพันธ์ให้ผู้ชมรับทราบเพื่อแนะนำให้ผู้ชมเปลี่ยนเครื่องรับ และสถานีส่งฯจะลดปริมาณข้อมูลข่าวสาร และค่อยๆลดกำลังส่งลง โดนเน้นการให้ข้อมูล,รายการเนื้อหาสาระที่หลากหลายผ่านสัญญาณดิจิตอลแทน เพื่อเป็นการค่อยๆทำให้ผู้ชมรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับชมน้อยที่สุด แต่สามารถรับชมข้อมูลที่หลากหลายมากกว่าในช่องสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ ที่ดีกว่ามาก
เดือน ธันวาคม ปี 2003 : เริ่มการออกอากาศระบบ Digital จากเครื่องส่งโทรทัศน์หลัก - เริ่มแรก การออกอากาศระบบ DTTV ครอบคลุมครัวเรือนได้เพียง 25% - 2 ปีต่อมา พื้นที่ให้บริการ สามารถครอบคลุมครัวเรือนได้มากถึง 60% - ปัจจุบัน สามารถเพิ่มพื้นที่ให้บริการครอบคลุมครัวเรือนได้มากถึง 96%
เดือน ธันวาคม ปี 2006 : เริ่มแผนการติดตั้งเครื่องส่งขนาดเล็กเพื่อเสริมจุดบอดต่างๆ กำหนดให้พื้นที่ครอบคลุมต้องไม่น้อยกว่า 98% ของระบบ Analog
กิจกรรมจากหน่วยงาน Dpa ( Drive Protector Advance ) - TV Spots - Awareness Campaigns - Stickers & Posters for publicity - Caravan Campaign
กิจกรรมจากหน่วยงาน NHK - ส่งแผ่นพับประชาสัมพันธ์ไปยังครัวเรือนต่างๆ - ออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อแนะนำการนำระบบ DTTV มาใช้ในบ้าน - ฯลฯ
ความท้าทายต่อการทำ Digital Switch-Over ( การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิตอล และปิดระบบอนาล็อก )
จะทำให้ผู้ชมที่อยู่นอกเขตบริการสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้อย่างไร ? - ในปี 2011; การออกอากาศภาคพื้นดิน เมื่อรวมกับ ระบบเคเบิลทีวีต่างๆ แล้ว สามารถครอบคลุมจำนวนครัวเรือน ได้ประมาณ 99% ของระบบ Analog - หนทางใด ที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินการให้ครัวเรือนที่อยู่นอกเขตบริการสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้
จะทำให้ผู้ชมตื่นตัวในการซื้อเครื่อง Digital TV หรือ STB ได้อย่างไร ? และจะช่วยเหลือผู้ชมที่มีรายได้น้อยได้อย่างไร - ประชาชนควรมีความรู้ความเข้าใจในคุณสมบัติต่างๆ ของเครื่อง Digital TV และ STB เป็นอย่างดี - รัฐบาล และ สังคม จะต้องดำเนินบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญในการช่วยให้ประชาชนตื่นตัว และ สามารถซื้อเครื่อง Digital TV หรือ STB มาใช้งานได้อย่างทั่วถึง
แผนงานในการแก้ปัญหา
เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ที่อยู่นอกเขตบริการ - ใช้ เครือข่ายดาวเทียม "Safety Net" ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติงานในช่วงต้นปี 2010 โดยรัฐบาลจะให้ทุนสนับสนุนบางส่วน - ใช้ เครือข่าย IPTV ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ โดย Broadcaster อนุญาตให้ผู้ให้บริการ IPTV สามารถส่งรายการโทรทัศน์ของตนได้ ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม ปี 2007
เพื่อทำให้ประชาชนตื่นตัว ในการจัดหาเครื่อง Digital TV หรือ STB - ทำเครื่องหมาย "Digital Support" โดยหน่วยงาน Dpa (รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ) - มาตรการช่วยเหลือจะเริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2009 - แจกเครื่อง STB ฟรี (หรือ ขายในราคาถูก) แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องกำหนด คุณสมบัติเบื้องต้นของเครื่อง STB ราคาถูกเหล่านี้ไว้ด้วย - ทดลองการหยุดออกอากาศระบบ Analog  : [4]
|