|
|
|
|
ชื่อผู้แจ้ง :
|
admin admin
ส่งวันที่ : 4 มิถุนายน 2552 เวลา 18:45:41
4224 ครั้ง
| | |
เรื่อง : |
NHK Communication Training Institute ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี
|
| |
NHK Communication Training Institute หรือ NHK CTI เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี Broadcasting แบบครบวงจร ให้การอบรมบุคลากรภายในบริษัท NHK เป็นประจำ และเปิดให้การอบรมแก่บุคลากรภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการกระจายภาพและเสียง ซึ่งเป็นผู้พัฒนา ISDB ตั้งแต่ปี 1993 และศึกษาระบบดิจิตอลหลายแขนงทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ เช่น การผลิตรายการ, การกำกับภาพ, การบันทึกภาพ, คอมพิวเตอร์กราฟฟิค, การแพร่ภาพภาคพื้นดิน, ดาวเทียม, เคเบิล ฯลฯ และศูนย์ฯ CTI เปิดให้ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าดูงานระบบการออกอากาศได้ทั้งหมดแบบครบวงจร
และภายในศูนย์วิจัยยังมีการทดลองและค้นคว้าอุปกรณ์ใหม่ๆ มากมาย อยากรู้...ตามเรามา
|
|
กระดาษอิเล็กทรอนิกส์
 : [2]
|
|
กระดาษแสดงผลแห่งโลกอนาคต
เป็นวัสดุกึ่งพลาสติก ที่มีการบรรจุเซลเรืองแสง ทำหน้าที่แสดงภาพ มีการทำงานคล้ายๆ จอ LCD แต่ลักษณะของวัสดุจะเป็นแผ่นพลาสติกบางๆ สามารถม้วนเก็บหรือดึงออกมาใช้งานได้ทุกสถานที่
 : [3]
|
|
วัสดุต้นแบบ ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลอง เพื่อทำให้มีขนาดเล็กลง และทำมีการแสดงผลที่ละเอียดมากขึ้น
 : [4]
|
|
 : [5]
|
|
ระบบเตือนภัยผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือโทรศัพท์มือถือ
 : [6]
|
|
เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่เป็นประจำ อาทิ แผ่นดินไหว, ซึนามิ ฯลฯ และทางรัฐบาลของญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพของประชาชนชาวญี่ปุ่นเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมา จะต้องเตือนให้ประชาชนทราบให้เร็วที่สุด และทางศูนย์ CTI ก็ได้มีการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เตือนภัย โดยมีระบบแจ้งเตือนภัยผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่นโทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งประดิษฐ์นาฬิกาที่สามารถรับสัญญาณเตือนภัยได้ทันที โดยในการเยี่ยมชมงานวิจัยนั้น เราได้เห็นการทำงานของอุปกรณ์โดยจะมีแสงไฟกระพริบที่นาฬิกาและมีเสียงร้องเตือนเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ
 : [7]
|
|
ในประเทศญี่ปุ่นจะมีศูนย์เฝ้าระวังเหตุภัยพิบัติ โดยมีเครือข่ายเชื่อมโยงอยู่ตามจังหวัดต่างๆ กว่า 4,000 แห่ง ทั่วประเทศญี่ปุ่น และถูกรวบรวมข้อมูลมาที่ศูนย์เฝ้าระวังเหตุภัยพิบัติ เพื่อทำการวิเคราะห์สถานะการณ์และประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมกันนั้นก็มีการเชื่อมข้อมูลให้กับสถานีโทรทัศน์และวิทยุภายในประเทศญี่ปุ่น เพื่อแจ้งเตือนภัยให้แก่ประชาชนได้ทราบอย่างรวดเร็ว ( วิธีการและรายละเอียดจะมีการสรุปในหัวข้อ ระบบการเตือนภัย ซึ่งถ้ามีเวลาจะรวบรวมมานำเสนอ เพราะเกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ในการแพร่กระจายคลื่นดิจิตอล ) ซึ่งทำให้เราเห็นว่าประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญและใส่ใจในการวางระบบเตือนภัยที่มีความละเอียดครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ และวางระบบมาตรฐานการแจ้งเตือนภัยได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานะการณ์ อย่างรอบคอบ เป็นที่น่ายกย่อง จริงๆ ซึ่งมูลเหตุแห่งการพัฒนามาจนถึงระดับนี้ อาจเกิดจากสิ่งเล็กๆที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญ แต่เป็นแรงขับเคลื่อนไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ( จากเหตุหายนะ > การตรวจสอบข้อมูล > การแจ้งเตือนภัย > การแพร่กระจายคลื่น > สู่ระบบดิจิตอล ISDB )
 : [8]
|
|
ห้องฉายภาพยนตร์ Hi Vision Projector ซึ่งมีกล้องฉายภาพ 2 ตัว ยิงลำแสงไปบนจอภาพซึ่งให้เส้นสแกนถึง 3,000 เส้น ให้รายละเอียดภาพที่สูงยิ่งกว่าระบบภาพที่เป็น HD โดยมีขนาดจอภาพ 7,680 x 4,320 หรือให้รายละเอียดภาพถึง 33 ล้านพิกเซล ( ภายในห้องฉายภาพยนตร์ทางศูนย์วิจัยฯไม่ให้ถ่ายรูป เพราะเก็บเป็นความลับ ) มีระบบเสียงเซอราวน์ 22.2 ช่อง คือให้เสียงด้านบนของห้องจำนวน 9 ช่อง, ให้เสียงกลางห้องจำนวน 10 ช่อง,ให้เสียงด้านล่างของห้องจำนวน 3 ช่อง และให้เสียงต่ำ LFE จำนวน 2 ช่อง ทำให้เกิดเสียงระทึกดังเข้าไปถึงขั้วหัวใจ การแสดงผลของภาพตระการตาสุดจะบรรยาย ซึ่งทางศูนย์วิจัยฯจะพัฒนาให้เป็นมาตรฐานใหม่ของวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น
 : [9]
|
|
ระบบแปลงข้อความเป็นภาษาสนทนา โดยเป็นโปรแกรมที่สามารถแปลงภาษาได้หลากหลาย จากการป้อนข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือรับสัญญาณตัวอักษรจากสถานีโทรทัศน์ แล้วเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีโปรแกรมแปลงภาษาสามารถแปลงข้อความต่างๆ ( ญี่ปุ่น, จีน, อังกฤษ ) ให้เป็นภาษาที่ต้องการบรรยายออกมาให้รับฟังได้ โดยจะมีภาพกราฟิคเป็นภาพผู้บรรยายแสดงออกมาที่หน้าจอด้วย ซึ่งการแปลงเป็นภาษาต่างๆนั้นอยู่ในระหว่างการทดลอง ( เสียดายไม่มีภาษาไทย )
 : [10]
|
|
อุปกรณ์แสดงผล เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา เป็นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณภาพให้แสดงออกมาเป็นปุ่มเล็กๆเหมือนชิ้นส่วนภาพ ซึ่งผู้พิการทางสายตาสามารถใช้มือลูบคลำลักษณะของภาพได้ตามสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งมา ซึ่งในระบบดิจิตอลสามารถเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้พิการทางสายตาได้โดยเฉพาะ
 : [11]
|
|
อุปกรณ์ที่แสดงออกมาเป็นชิ้นส่วนภาพที่สามารถจับต้องได้ ภาพที่เราสัมผัสได้จริง เกิดขึ้นแล้ว ต่อๆไปอาจเพิ่มกลิ่นติดมือออกมาด้วย...
 : [12]
|
|
ต้องใช้มือลูบๆคลำๆ เหมือน..รสชาติที่คุณสัมผัสได้ ( สโลแกนคุ้นๆ )
 : [13]
|
|
อุปกรณ์ถอดรหัสข้อความให้เป็นอักษรเบล สำหรับผู้พิการทางสายตา โดยรับสัญญาณมาจากสถานีแพร่กระจายคลื่นเข้ามายังเครื่องรับและถอดรหัสออกมาเป็นอักษรเบล
 : [14]
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|